ชื่อผลงานวิจัย (ภาษาไทย)
หุ่นยนต์บริการ แองกัส
ชื่อผลงานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)
Angus the Service Robot
บทคัดย่อ
ปัจจุบัน หุ่นยนต์ เขามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ มากขึ้น โดยเฉพาะ หุ่นยนต์ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นหุ่นยนต์บริการ เนื่องจาก อัตราการเกิด ของประชากร ลดลง และ มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีชีวิตยืนยาวขึ้น ส่งผลให้ แต่ละประเทศจะเกิดการขาดแคลน แรงงาน โดยเฉพาะ งานด้านบริการ อุตสาหกรรมภาคบริการเป็นอุตสาหกรรม ที่สำคัญ สำหรับ เศรษฐกิจ ของประเทศไทย เพื่อป้องกัน และ แก้ไข ปัญหา การขาดแคลนแรงงานภาคบริการ ในอนาคต หุ่นยนต์บริการ แองกัส จึงได้ถูกออกแบบ มา เพื่อ ให้มีความสามารถ ในการให้บริการ โดยผ่านโครงสร้างตัวหุ่นยนต์ ที่สามารถเคลื่อนที่ได้และหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ แบบอัตโนมัติ ผ่านตัวรับรู้ต่างๆเช่น Lidar และ กล้อง ผสานกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ เทคโนโลยี SLAM นอกจากนั้นหุ่นยนต์ถูกออกแบบให้มีแขนกล เพื่อใช้ หยิบ จับ วาง วัตถุต่างๆ เพื่อช่วย มนุษย์ ในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยมีความสามารถในการค้นหา แยกแยะ และ คำนวณระยะ ต่างๆ ผ่านกล้องแบบ สามมิติ นอกจากนั้น แล้ว หุ่นยนต์ แองกัส ยังมีการบรรจุ ปัญญาประดิษฐ์ อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการบริการ เช่น ความสามารถในการฟังเสียง ตีความ และ เข้าใจ คำสั่งต่างๆ ของมนุษย์ ผ่านเสียงคำสั่ง และ สามารถพัฒนาความสามารถของตัวหุ่นยนต์ได้ผ่านกระบวนการณ์สอน
ชื่อเจ้าของผลงาน
ผศ.ดร.กาญจนพันธุ์ สุขวิชชัย
หน่วยงานเจ้าของผลงาน
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์