เครื่องปรับคุณภาพน้ำกลุ่ม

ชื่อผลงานวิจัย (ภาษาไทย)

เครื่องปรับคุณภาพน้ำกลุ่ม

ชื่อผลงานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)

Mobile Aqua Purifier (MAP)

บทคัดย่อ

ประกอบด้วยรุ่น MAP3.1 MAP3.2 MAP3.3 และ MAP3.4 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ปรับคุณภาพน้ำที่ไม่ต้องอาศัยพลังงานจากภายนอก (ยกเว้นรุ่น MAP3.4 ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า หรือน้ำมันแต่มีกำลังการผลิตน้ำสูงสุดถึง 1000 ลิตรต่อชั่วโมง) มีกำลังการผลิตน้ำสูงสุด 120 ลิตรต่อชั่วโมง (MAP3.1 – MAP3.2) มีความสามารถในการปรับคุณภาพน้ำผิวดิน และน้ำปนเปื้อนเช่น น้ำคลอง น้ำท่วมขังในสถานการณ์น้ำท่วมเพื่อการอุปโภค บริโภค ประกอบไปด้วยระบบกรองหยาบ ชั้นกรองเซรามิก ระบบดูดซับโดย ถ่านกัมมันต์ และระบบรีเวอร์สออสโมซิส เครื่องปรับคุณภาพน้ำกลุ่ม MAP นี้ ได้ถูกน้ำไปใช้ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในช่วงเหตุการณ์น้ำท่วมในปี พ.ศ.2554 และเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศเนปาลในปี พ.ศ.2558
ซึ่งได้ท้าการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาถึงรุ่น PAM1.5 หรือเครื่องกรองน้ำผลิตไฟฟ้าแบบพกพาซึ่งเป็นรุ่นที่ 5 ของเครื่องปรับคุณภาพน้ำประเภทนี้ โดยมีคุณลักษณะพิเศษคือมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา (3 กิโลกรัม) พกพาได้สะดวก (บรรจุในกระเป๋าสะพายได้) สามารถปรับคุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภค และบริโภคได้โดยไม่ต้องอาศัยพลังงานภายนอก กำลังการผลิตน้ำสูงสุด 125 มิลลิลิตรต่อนาที อีกทั้งสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยอาศัยหลักการทำงานร่วมกันระหว่างปั้มรีด และแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงเพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่นเครื่องมือสื่อสาร ไฟส่องสว่าง เป็นต้น สำหรับแหล่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำดิบคือแหล่งน้ำจืดผิวดินที่ไม่มีการปนเปื้อนสารพิษ แต่ยังคงมีการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดสี กลิ่น รส และจุลชีพ ประกอบไปด้วยระบบกรองหยาบ ไส้กรองอัลตราฟิลเตรชัน ระบบฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเล็ต เครื่องปรับคุณภาพน้ำนี้ ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทบุคลากรซีเนียร์ ด้านมนุษย์ และสังคมในการประกวดนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประจ้าปี พ.ศ.2559

ชื่อเจ้าของผลงาน

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มณฑล ฐานุตตมวงศ์
  2. นายปรัญา  จันทรศักดิ์

หน่วยงานเจ้าของผลงาน

คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์