วิศวกรรมย้อนรอยเพื่องานกายอุปกรณ์

ชื่อผลงานวิจัย (ภาษาไทย)

วิศวกรรมย้อนรอยเพื่องานกายอุปกรณ์

ชื่อผลงานวิจัย (ภาษาอังกฤษ)

Reverse Engineering for orthotics

บทคัดย่อ

ปัญหาการทำเสื้อเกราะสำหรับผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดคือการหล่อแบบด้วยปูน คนไข้จำเป็นต้องเกร็งลำตัวอยู่นิ่งจนปูนแห้ง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน นอกจากนั้นการปรับแต่งด้วยมือทำให้มีความคลาดเคลื่อนสูง  ส่งผลให้ขนาดของเสื้อเกราะคลาดเคลื่อนและกดทับกระดูกของผู้ป่วยภายหลังการสวมใส่เพื่อการรักษา  จึงทำให้ต้องมีการแก้ไขชิ้นงานหลายครั้ง การผลิตจึงต้องใช้เวลานาน การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งพัฒนากรรมวิธีการผลิตเสื้อเกราะที่ใช้สำหรับการดัดกระดูกสันหลังคด โดยนำความรู้ทางด้านวิศวกรรมย้อนรอยมาใช้ในการขึ้นรูปเสื้อเกราะแบบพอดีตัวสำหรับผู้ป่วย วิธีการพัฒนาเริ่มจากการสแกนลำตัวของอาสาสมัครแทนผู้ป่วยด้วยเครื่องสแกนสามมิติ หลังจากนั้นนำไฟล์พื้นผิวสามมิติที่ได้มาต่อกันเป็นแม่พิมพ์เนกาตีฟ 3D และทำการปรับแต่งเพื่อให้มีขนาดและรูปร่างให้เหมาะที่จะนำไปขึ้นรูปเป็นเสื้อเกราะที่เข้ารูปกับลำตัวอาสาสมัคร และทำการปรับแต่งผิวสามมิติ ก่อนการขึ้นรูปสรีระส่วนบนด้วยเครื่องซีเอ็นซี 4 แกน  ผลจากการนำเทคโนโลยีวิศวกรรมย้อนรอยมาใช้ในการผลิตเสื้อเกราะสามมิติสำหรับผู้ป่วยสันหลังคด พบว่า ใช้เวลาในการผลิตไม่เกิน 3 วัน เมื่อเทียบกับวิธีการเดิมซึ่งใช้เวลา 14 วัน เสื้อเกราะสามมิติที่ได้มีความสวยงาม มีขนาดพอดีกับสรีระอาสาสมัคร หมดกังวลเรื่องปัญหาความไม่สบายตัว ลดการบาดเจ็บจากการสวมใส่และการใช้ชีวิตประจำวัน

ชื่อเจ้าของผลงาน

รศ.ดร. คุณยุต เอี่ยมสอาด

หน่วยงานเจ้าของผลงาน

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์